- สามารถยืมได้ โดยต้องปฏิบัติตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551 (หมวดที่ 5 การเบิกจ่าเงินยืม)
- แบบฟอร์มที่ใช้ คือ ขบ.02
- รหัสบัญชีแยกประเภท คือ ลูกหนี้เงินยืม - ใน งปม. 1102010101
- แหล่งเงิน ต้องดูว่าจะยืมเป็นค่าอะไร เช่น ยืมเพื่อการจัดอบรมจะรวมค่าใช้จ่ายตั้งแต่ ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่ม, ค่าตอบแทนวิทยากร
ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ใช้แหล่งเงิน 5311220
เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ขั้นตอนการหักล้างลูกหนี้เงินยืม แยกออก
เป็น 3 ประเภท
1. การล้างเงินยืมเท่ากับใบสำคัญ
- บันทึกล้างลูกหนี้เงินยืม โดยใช้แบบฟอร์ม บช .01 ประเภทเอกสาร G1 คู่บัญชี เดบิต ค่าใช้จ่าย
เครดิต ลูกหนี้เงินยืม
- การอ้างอิง ใช้ปี คศ 2 หลัก+เอกสารตั้งเบิก 10 หลัก+บรรทัด
ลูกหนี้เงินยืม3 หลัก
2.การล้างลูกหนี้เงินยืมเป็นใบสำคัญและเงินสด
ใบสำคัญ
- บันทึกล้างลูกหน้เงินยืม โดยใช้แบบฟอร์ม บช.01 ประเภท G1
คู่บัญชี เดบิต ค่าใช้จ่าย
เครดิต ลูกหนี้เงินยืม
เงินสด
- บันทึกรับเงินเบิกเกินส่งคืน ใช้แบบฟอร์ม บช. 01 ประเภท BD
คู่บัญชี เดบิต เงินสด
เครดิต เบิกเกินส่งคืนนำส่ง
- บันทึการนำเงินส่งคลัง ใช้แบบฟอร์ม นส02-1 ประเภท R6
- บันทึกล้างลูกหนี้เงินยืมและเบิกเกินส่งคืนรอนำส่ง
แบบฟอร์มที่ใช้ บช.01 ประเภท BE
คู่บัญชี เดบิต เบิกเกินส่งคืน
เครดิต ลูกหนี้เงินยืม
การอ้างอิงเอกสาร ใช้ปี คศ 2 หลัก+เอกสารตั้งเบิก 10 หลัก+บรรทัด
ลูกหนี้เงินยืม3 หลัก
3. การล้างลูกหนี้เงินยืมมากกว่าสัญญาการยืมเงิน
- บันทึกล้างใบสำคัญเท่ากับเงินที่จ่ายยืม แบบฟอร์ม บช.01
ประเภท G1
คู่บัญชี เดบิต ค่าใช้จ่าย
เครเดิต ลูกหนี้เงินยืม
- ใบสำคัญส่วนที่เกินให้บันทึกขอเบิกเงินตามปกติ ใช้แบบฟอร์ม
ขบ02
ทุกกรณี ต้องบันทึกรายการขอจ่ายเงินก่อน
หากยังไม่เข้าใจ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้คะ 1403
|