การจัดซื้อครุภัณฑ์จากเงินรายได้ มี 2 กรณี
1. ถ้าครุภัณฑ์นั้นราคาก่อนภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT 7% ไม่ถึง 5,000.- บาท ไม่ต้องขอกำหนดครุภัณฑ์จากกองคลัง ให้หน่วยงานควบคุมไว้เองโดยจัดทำทะเบียนคุมทรัพย์สินมูลค่าต่ำกว่าเกณฑ์ หน้าตาเหมือนทะเบียนคุมทรัพย์สิน แต่เพิ่มคำว่าต่ำกว่าเกณฑ์เข้าไป ตั้งแฟ้มให้เป็นระเบียบเพื่อไว้ตรวจสอบพัสดุประจำปี
2. ถ้าครุภัณฑ์นั้นราคาก่อนภาษีมูลค่าเพิ่ม เกินกว่า 5,000.- บาท ต้องขอกำหนดรหัสครุภัณฑ์จากกองคลัง โดยแนบเอกสาร เช่น ใบตรวจรับ, ใบแจ้งหนี้หรือใบส่งของ, รายงาน 7 ข้อพร้อมบันทึกขออนุมัติหลักการให้ใช้เงินรายได้
การจัดซื้อทดแทน ครุภัณฑ์เก่าต้องขายทอดตลาด หรือถ้ายังพอใช้งานได้อยู่แต่ประสิทธิภาพไม่คล่องตัว จะเก็บไว้ใช้ได้แต่ห้ามมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม และถ้าขายทอดตลาดแล้วจะนำเลขจากตัวเก่ามาเขียนที่ตัวใหม่ไม่ได้เพราะเป็นครุภัณฑ์คนละตัว วันจัดหาได้มาคนละวัน ประเภท ชนิด ยี่ห้อ S/N คนละเลข ยิ่งถ้าจัดซื้อหลายตัวต้องบันทึกให้ละเอียดถึง S/N (Serial Nunber) ของด้านหลังตัวเครื่อง ถ้าจะขายทอดตลาด ไว้คราวตรวจสอบพัสดุประจำปีเดือนตุลาคม 2554 ระบุว่าชำรุดและเสื่อมสภาพ ดำเนินการการขั้นตอนพัสดุประจำปี ในระดับจังหวัด ตามคำสั่งมอบอำนาจ 531/2552 แล้วรายงาน รปส.(เตือนใจ ฯ) เพื่อ กคล. จะได้ลบเลขครุภัณฑ์ตัวเก่าออกจากระบบที่กองคลังคุมอยู่ อธิบายยาวไปไหม
|