Intranet of PRD : : อินทราเน็ต กรมประชาสัมพันธ์
   
   
 
 
 
วัตถุประสงค์ :
เพื่อถาม - ตอบข้อซักถามเกี่ยวกับ ด้านการเงิน งบประมาณ การบัญชี การพัสดุ ระบบ GFMIS และติดตามการประสานงานต่างๆ โดยเจ้าหน้าที่กองคลัง จะเป็นผู้ตอบคำถาม ดังนั้นกรุณาตั้งคำถามที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อดังข้างต้นเพื่อประโยชน์แก่ท่าน และองค์กร

Home    กลับหน้าหลัก    ตั้งคำถามใหม่     Admin

ขอทราบการติดเงิน 30 เท่าของเงินเดือนข้าราชการบำนาญ
ข้าราชการบำนาญที่จะได้ปรับเงินเดือนเพิ่มขึ้น 4%ใหม่ เงินที่ได้เพิ่ม จะเอาไปรวมกับเงินเดือนเดิมที่ได้รับใช่หรือไม่ หรือบันทึกแยกไปอีกว่า เป็นเงินเพิ่มช่วยค่าครองชีพเหมือนที่ทำอยู่ในปัจจุบัน ขอทราบเหตุผลว่าทำไมถึงเป็นเช่นน้ัน หน่วยงานอื่นเขาเอาไปรวมกับเงินเดือนเลยทำให้ทราบชัดเจนว่าได้รับเงินเดือนเท่าไร เช่น เวลาเสียชีวิตก็เอา 30 เท่าคูณกับเงินที่ได้รับทั้งหมดได้เลย ไม่ทราบว่าของเราคิดอย่างไร เงินที่ได้รับเพิ่ม จะมีผลตอนเสียชีวิตท่ีจะได้รับเพิ่มเวลาคำนวณด้วยหรือไม่ จะได้วางแผนบั้นปลายชีวิตได้ถูก(ทราบอยู่แล้วว่า 30 เท่าของเงินเดือนสามารถเอาไปใช้ได้ 2 ครั้ง ตอนอายุ 60 และ 65 ปี ท่ีเหลือคือสุดท้ายตอนตายเหลือเท่าไหร่ รับเท่าน้ัน) แต่สงสัยทำไม ไม่เอาเงินเพิ่มไปรวมกับเงินเดือน มาระบุเป็นเงิน ชพค.
 นางลัดดาวัลย์ พุ่มกล/สปข.4   IP : (101.108.10.108)_ 24 เม.ย. 2558 16:48:10    


          -   ตามพระราชกฤษีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำญ (ฉบับที่ 15)พ.ศ. 2558 กำหนดให้ปรับเพิ่มเงิน ชคบ. ให้มีสิทธิได้รับ เพิ่มขึ้น
ในอัตราเดือนละร้อยละ 4 ของจำนวนเบี้ยหวัดหรือชำนาญและ ชคบ.
ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ ตั้งแต่วันที่ 1 ธค.57
          - การปรับเงินเพิ่มให้กับข้าราชการบำนาญทุกครั้ง ไม่ได้ปรับ
ที่เงินบำนาญ  จะปรับเพิ่มเป็นเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ
  การปรับเงินดังกล่าวข้างต้น  ทุกส่วนราชการถือปฏิบัติตาม
พระราชกฤษฎีกาฯ เหมือนกันทุกแห่ง
        -  สำหรับเงินบำเหน็จตกทอด  ตั้งแต่ ปี 2551 เป็นต้นมา  กม. กำหนดให้นำเงิน ชคบไปรวมกับเงินบำนาญ  เพื่อคิดบำเหน็จตกทอด
ให้กับทายาท (บำนาญ+ชคบx 30-เหน็จดำรงชีพ 2 ครั้ง
ไม่เกิน 400,000บาท)
          หากยังมีข้อสงสัย  ติดต่อ โทร 1403


 นันธิยา ฝกง. IP : (172.16.11.114) 06 พ.ค. 2558 12:25:38 ผู้ตอบคนที่ : 1กลับขึ้นด้านบน

1


[ ปิดหน้าต่างนี้ ]


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการอ่าน
และหากข้อความใดใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพ ที่ระบบไม่สามารถจะกลั่นกรองคำหยาบได้ ผู้ดูแลระบบจะทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบทันที
 
 
กรมประชาสัมพันธ์ เลขที่ 9 ซ.อารีย์สัมพันธ์ ถ.พระราม 6 สามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ : 0-2618-2323 - 40  โทรสาร : 0-2618-2364, 0-2618-2399  E-mail : intraweb@prd.go.th