 | เกศกานดา จตุรงคโชค. 2545. เทคนิคการแปลข่าวหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย กรุงเทพฯ : โพสต์บุคส์. 199
เป็นงานแปลที่รวบรวมบทความจากคอลัมน์ Translate IT ของหนังสือพิมพ์ Bangkok Post โดยการยกตัวอย่างข่าวหนังสือพิมพ์เป็นต้นฉบับภาษาอังกฤษซึ่งง่ายต่อการแปล เนื่องจากภาษาตรงไปตรงมา มุ่งรายงานข้อเท็จจริง ไม่ต้องตีความ และเนื้อหาข่าวเป็นเรื่องที่นำเสนอผ่านสื่อต่าง ๆ ทำให้ผู้อ่านมีความรู้ในเบื้องต้นเกี่ยวกับเนื้อหาข่าวนั้น ๆ ผู้อ่านจะคุ้นเคยกับศัพท์ สำนวน และโครงสร้างปนะโยคที่พบในข่าว จึงง่ายต่อการศึกษาในเบื้องต้น |
 | วิภา อุตมฉันท์. 2544. ผลกระทบของสัญญาณวิทยุและโทรทัศน์ข้ามพรมแดนระหว่างไทย - ลาว. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เป็นรายงานการวิจัยที่กล่าวถึงการสื่อสารระหว่างประเทศของไทยและลาวผ่านสื่อกระจายเสียง ซึ่งประสิทธิภาพในการรับสารของประชาชนทั้ง 2 ประเทศ แตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น จำนวนคลื่นวิทยุ จำนวนชั่วโมงออกอากาศ อุปกรณืเทคโนโลยี ทุนการดำเนินงาน รวมทั้งความแตกต่างในระบบการเมือง |
 | ชูชัย สมิทธิไกร. 2549. การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หนังสือ "การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ" นำเสนอเนื้อหาด้านความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการฝึกอบรมบุคลากร ตั้งแต่หลักกการ ทฤษฎี แนวคิด แนวทางและวิธีปฏิบัติ รวมทั้งกรณีตัวอย่างต่าง ๆ โดยการนำเสนอจะเป็นการประยุกต์ความรู้ทางจิตวิทยา เพื่อให้การฝึกอบรมบรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ เหมาะสำหรับใช้ประกอบการศึกษาสำหรับนักศึกษา และผู้ที่ทำงานด้านการฝึกอบรม |
 | กาญจนา แก้วเทพ. 2547. การวิเคราะห์สื่อ : แนวคิดและเทคนิค. กรุงเทพฯ : Higher press.
การวิเคราะห์สื่อ แนวคิดและเทคนิค เป็นตำราทางด้านสื่อสารมวลชน ประกอบไปด้วย กรอบความคิด ทฤษฎี การวิเคราะห์ ตัวอย่าง และกรณีศึกษา โดยผู้เขียนได้ใช้หลักในการวิเคราะห์สื่อออกเป็น 3 แบบ คือ การวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎี การใช้ประเด็นเป็นเกณฑ์ในการวิเคราะห์ และการวิเคราะห์เชิงปฏิบัติ เหมาะสำหรับใช้เป็นคู่มือในการแยกแยะการสื่อสาร สำหรับผู้สนใจเนื้อหาด้านการสื่อสาร
|
 | เสกสรร สายสีสด. 2549. ระบบสารสนเทศเพื่อการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : CA. Book.
เป็นตำราทางด้านการประชาสัมพันธ์ ที่อาศํยปัจจัยทางด้านระบบสารสนเทศในการดำเนินงาน โดยเนื้อหาให้ความรู้ตั้งแต่การประชาสัมพันธ์เบื้องต้น ระบบสารสนเทศเพื่อการประชาสัมพันธ์เบื้องต้น ประเภทของระบบและฐานข้อมูลเพื่อการประชาสัมพันธ์ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการประชาสัมพันธ์ รวมทั้งการบริหารจัดการเว็บไซต์เพื่อการประชาสัมพันธ์ ฯลฯ เหมาะสำหรับนิสิต นักศึกษา และผู้สนที่ปฏิบัติงานด้านการประชาสัมพันธ์ ซึ่งสามารถนำหลักการไปประยุกต์ใช้ในการวิชาชีพต่อไปได้ |
 | อธิคม สวัสดิญาณ. 2548. พูดชนะใจ : ศิลปะการเกลี้ยกล่อมแบบเหนือชั้น. กรุงเทพฯ : เต๋าประยุกต์.
เป็นหนังสือที่รวบรวมศิลปะการพูดที่น่าสนใจตากตัวอย่าง ทั้งการสนทนาปราศรัย การเจรจาทางธุรกิจ การฑูต การเมือง ความรักและครอบครัว ซึ่งการพูดเป็นศิลปะแห่งการเกลี้ยกล่อมที่ต้องใช้ชั้นเชิงทางจิตวิทยา รู้เท่าทันสถานการณ์และธรรมชาติความเป็นมนุษย์ |
 | กฤษฎา เกิดดี. 2548. การเซ็นเซอร์ภาพยนตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ หสน. ห้องภาพสุวรรณ.
เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ คือ การกำเนิดของการเซ็นเซอร์ภาพยนตร์ องค์กรที่รับผิดชอบการเซ็นเซอร์ ข้อกำหนดของการเซ็นเซอร์ วิธีการเซ็นเซอร์ กระบวนการเซ็นเซอร์ ผลของการเซ็นเซอร์และการเซ็นเซอร์โดยกลุ่มพลังหรือผู้ชุมนุมใประท้วงรวมทั้งทรรศนะของผู้ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งการเซ็นเซอร์ภาพยนตร์ในสหรัฐอเมริกา โดยยกกรณีเหตุการณ์ที่น่าสนใจมานำเสนอประกอบเนื้อหา |
 | สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ. 2545. การสื่อข่าว : หลักการและเทคนิค. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือสถาบันราชภัฎสวนสุนันทา.
เป็นตำราทางวิชาการที่สอดแทรกเนื้อหาจากประสบการณ์จริงในการทำข่าว ซึ่งกล่าวถึงทฤษฎีพื้นฐานของข่าว การสื่อข่าว แหล่งข่าว หลักการเขียนข่าว การรายงานข่าว ฯลฯ เหมาะสำหรับผู้สอนวิชาการสื่อข่าว นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจในกระบวนการสื่อข่าวของสื่อมวลชน |
 | พิภพ วชังเงิน. 2547. พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : รวมสาส์น.
เป็นหนังสือที่นำเสนอเนื้อหาที่สามารถทำให้ผู้อ่านได้เข้าใจ รู้จักพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ ทั้งในส่วนดีและไม่ดี ทฤษฎีพฤติกรรมองค์การ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เทคนิควิธีพัฒนาองค์การ จริยธรรมขององค์การ จิตวิทยาพฤติกรรมองค์การ ฯลฯ เหมาะสำหรับเป็นตำราประกอบการศึกษาเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานได้ |
 | สื่อมวลชนบนเส้นทางทุนนิยม. 2548. กรุงเทพฯ : เอดิสันเพรส โปรดักส์.
เนื้อหากล่าวถึงพฤติกรรมของระบบทุนนิยมที่มีผลกระทบต่อสื่อทุกประเภทเป็นหนังสือที่รวบรวมบทความเกี่ยวกับสื่อสารมวลชนในประเทศ โดยเฉพาะระบบทุนนิยมที่เข้ามามีบทบาท ส่งผลกระทบด้านต่าง ๆ ต่อระบบสื่อมวลชนทุกประเภททั้งวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ เช่น \"พัฒนาการของการสื่อสารมวลชน\" \"โครงสร้างสื่อวิทยุและโทรทัศน์ในประเทศไทย\" \"การปฏิรูปสื่อและการสื่อสาร\" \"จักวรรดินิยมการสื่อสาร : อำนาจครอบโลกาภิวัฒน์\" เป็นต้น |
 | เมตตา วิวัฒนานุกูล (กฤตวิทย์). 2545. หลักการสัมภาษณ์ในวงการบริหารการสื่อสารมวลชน และการวิจัย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เนื้อหาหลักของหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วย ขั้นตอนการสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ได้แก่ สัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน เพื่อประเมินผลงาน เพื่อให้คำปรึกษา ฯลฯ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในวงการต่าง ๆ ได้ เช่น วงการบริหาร วงการสื่อสารมวลชน วงการศึกษาและวิจัย เป็นต้น |
 | สวนิต ยมาภัย และ ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์. 2547. หลักการพูด : หน้าที่ชุมชน สื่อมวลชน และในองค์กร. กรุงเทพฯ : คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .
เป็นหนังสือที่ให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการพูด ซึ่งต้องอาศัยปัจจัยต่าง ๆ เช่น การใช้เสียงพูด การใช้คำพูด การใช้ความคิด การวิเคราะห์กลุ่มผู้ฟัง กิริรยาอาการในขณะพูด ฯลฯ สามารถใช้เป็นหนังสือประกอบการเรียนวิชาที่เกี่ยวกับหลักการพูดทั่วไป หรือวาทศิลป์เบื้องต้น รวมทั้งวิชาการใช้ภาษาได้ |
 | กาญจนา แก้วเทพ. 2544. การศึกษาสื่อมวลชนด้วยทฤษฎีวิพากษ์ : แนวคิดและตัวอย่างงานวิจัย. กรุงเทพฯ : หจก. ภาพพิมพ์.
เป็นหนังสือที่รวบรวมบทความด้านการศึกษาสื่อมวลชนในแง่ต่าง ๆ โดยอาจารย์กาญจนา แก้วเทพ และคณะผู้เชี่ยวชาญทางด้านสื่อมวลชน เพื่อนำเสนอแนวคิดแง่มุมต่าง ๆ ที่หลากหลาย โดยอิงทฤษฎีทางด้านวิชาการ เช่น S. Hall : สื่อมวลชนและระบบรหัสแห่งความหมาย , D. Morley กับการวิเคราะห์องค์ประกอบการสื่อสารแนวใหม่ ฯลฯ |
 | เทพชัย หย่อง. 2550. อวสานไอทีวี. กรุงเทพฯ : เนชั่นบ๊คส์.
เป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์ของสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ตั้งแต่ยุครุ่งเรืองของการเป็นสถานีข่าวที่สังคมให้การยอมรับ จนถึงวันที่เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่เนื่องจากผลพวงของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
นอกจากนี้ยังนำเสนอเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ทำให้ไอทีวี กลายเป็นทีวีเสรี เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงปรัชญา ความคิด ตลอดจนความตั้งใจของคนข่าวไอทีวี ทั้งที่อยู่เบื้องหน้าและเบื้องหลัง |
 | สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ. 2549. การสื่อสารเพื่อการพัฒนา : พัฒนาการ แนวคิด สภาพการณ์ในสังคมไทย กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
เป็นเอกสารประกอบการเรียนการสอนตามหลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิตของมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ซึ่งอธิบายความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสื่อสาร สื่อสารมวลชน สัมคมและการพัฒนา รวมถึงพัฒนาการแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาทั้งทฤษฎี ประเด็นปัญหาสำคัญของการพัฒนาสังคมไทย สื่อมวลชนกับการพัฒนา ฯลฯ เหมาะสำหรับนิสิต นักศึกษาที่ต้องการศึกษางานด้านสื่อสารมวลชน |